*-*WeLCome...Rin*-*Begkhunthod*-*Rin...WeLCome*-*

....รวมพลคนเอกคอม...

วันเสาร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2550

เนื้อหาบทเรียน

หน่วยที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสื่อการเรียนการสอน
.......สื่อการเรียนการสอน หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่ผู้สอนและผู้เรียนนำมาใช้ในการเรียนการสอน เพื่อช่วยให้กระบวนการเรียนรู้ดำเนินไปสู่เป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
.....1.1 ความหมาย ประเภทของสื่อการเรียนการสอน
.......การจำแนกประสบการณ์ทางการศึกษา เรียงลำดับจากประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมไปสู่ประสบการณ์ที่เป็นนามธรรม โดยยึดหลักว่า คนเราสามารถเข้าใจสิ่งที่เป็นรูปธรรมได้ดีและเร็วกว่าสิ่งที่เป็นนามธรรมซึ่งเรียกว่า "กรวยแห่งประสบการณ์" (Cone of Experiences)
.....1.2 คุณค่า และประโยชน์ของสื่อการเรียนการสอน
.......ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
.......ช่วยให้สามารถเอาชนะข้อจำกัดต่าง ๆ ในการเรียนรู้
.....1.3 หลักการเลือกและการใช้สื่อการเรียนการสอน
.......1. การวางแผน (Planning)
.......2. การเตรียมการ (Preparation)
.......3. การนำเสนอสื่อ (Presentation)
.......4. การติดตามผล (Follow - up)
หน่วยที่ 2 จิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสื่อการเรียนการสอน
.......การเรียนการสอนซึ่งจะเป็นเรื่องราวทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา อันได้แก่ ทฤษฎีการเรียนรู้ ทฤษฎีแรงจูงใจ และทฤษฎีพัฒนาการ ลักษณะธรรมชาติผู้เรียน สิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการเรียนรู้ตลอดจนวิธีการนำความรู้ความเข้าใจที่เกิดขึ้นไปประยุกต์ใช้
........2.1 จิตวิทยาการรับรู้
........คือ กระบวนการแปลหรือตีความต่อสิ่งเร้าข่าวสารที่ผ่านอวัยวะรับสัมผัสทั้งหลาย ได้แก่ ตา ห จมูก ลิ้น และกาย เข้าไปยังสมองในรูปของไฟฟ้าและเคมี สมองจึงเป็นคลังเก็บข้อมูลมหาศาลก็จะตีความสิ่งเร้าหรือข่าวสารนั้นโดยอาศัยการเทียบเคียงกับข้อมูลที่เคยสะสมไว้ก่อน หรือที่เรียกว่า ประสบการณ์เดิม
.....2.2 จิตวิทยาการเรียนรู้
........คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากเดิมไปสู่พฤติกรรมใหม่ค่อนข้างถาวร และพฤติกรรมใหม่นี้
.....2.3 จิตวิทยาพัฒนาการ
........คือพัฒนาของบุคคลแต่ละวัยในด้านต่างๆ หรือความพร้อมของผู้เรียน ซึ่งช่วยให้การจัดการเรียน การอบรมสั่งสอนมีความสอดคล้องกับธรรมชาติของผู้เรียนยิ่งขึ้น
หน่วยที่ 3 การสื่อสาร
........คือกระบวนการสำหรับแลกเปลี่ยนสารรูปแบบอย่างง่ายของสาร คือ จะต้องส่งจากผู้ส่งสารหรืออุปกรณ์เข้ารหัส ไปยังผู้รับสารหรืออุปกรณ์ถอดรหัส
.....3.1 ความหมายและองค์ประกอบของการสื่อสาร
........หมายถึงการโอนถ่ายหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูล ระหว่างต้นทางและปลายทางโดยผ่านทางอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์หรือ คอมพิวเตอร์
.....3.2 รูปแบบของสื่อการสอน
........1. การส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียว (Simplex Transmission)
........2. การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางสลับกัน (Half-Duplex-Transmission)
........3. การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางพร้อมกัน (Full Duplex Transmission)
.....3.3 แบบจำลองของการสื่อสาร
....... เบอร์โล (Berlo)เป็นผู้คิดกระบวนการของการติดต่อสื่อสารไว้ในลักษณะรูปแบบจำลอง S M C R Model
.....3.4 การสื่อสารกับกระบวนการเรียนการสอน
.......1. การเรียนรู้ในรูปแบบการสื่อสารทางเดียว
.......2. การเรียนรู้ในรูปแบบการสื่อสารสองทาง
หน่วยที่ 4 การออกแบบสื่อการเรียนการสอน
.......องค์ประกอบที่สำคัญในการเรียนการสอนคือสิ่งที่ครูมักนำไปประกอบการเรียนการสอนนั่นก็คือ สื่อการสอนนั่นเอง สื่อการสอนนับว่ามีประโยชน์มากเพราะสื่อการสอนเปรียบเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้เข้าใจในเนื้อหาและได้เห็นภาพได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้นมากกว่าที่ครูผู้สอนจะสอนโดยการมาบรรยายหรือสอนตามเนื้อหา โดยไม่มีอุปกรณ์ช่วนสอนเลย
.....4.1 ความหมายของการออกแบบสื่อการเรียนการสอน
........การออกแบบสื่อการเรียนรู้ ( Material Design ) สิ่งที่นำมาพิจารณาประกอบการตัดสินใจ จัดหา จัดเตรียม และเลือกใช้ประกอบ การเรียนการสอน
.....4.2 วิธีระบบกับการออกแบบสื่อการเรียนการสอน
........หลักการและทฤษฎีเกี่ยวกับระบบการเรียนการสอนที่ใช้สื่อประสมรูปแบบต่าง ๆ
(Priciple and Theory of Instruction Relating to the Multimedia)ทฤษฎีระบบTHE SYSTEMS APPROACH
.....4.3 การสร้างแบบจำลองการออกแบบสื่อการเรียนการสอน
........การสร้างแบบจำลอง หรือโมเดล (Model) คือการสร้างของสิ่งหนึ่งเพื่อแทน วัตถุ กระบวนการ ความสัมพันธ์ หรือ สถานการณ์ เช่น การสร้างแบบจำลองของโครงสร้างหลังคา เพื่อให้วิศวกรสามารถคำนวณต่างๆได้
หน่วยที่ 5 การผลิตสื่อกราฟิก
........คือวัสดุลายเส้นประกอบด้วย ภาพลายเส้น ตัวอักษร การ์ตูน และสัญลักษณ์ เพื่อเสนอเรื่องราวความรู้ หรือเนื้อหาสาระให้รับรู้และเข้าใจได้ง่ายรวดเร็ว
.....5.1 ความหมาย และคุณค่าของสื่อกราฟิก
........คือการอธิบายด้วยภาพประกอบข้อมูลต่างๆเพื่อให้เกิดความเข้าใจ
1.การออกแบบ สัญลักษณ์ต่างๆ
2.การออกแบบและจัดทำแผนภูมิ แผนภาพ แผนสถิติ
3.การวาดภาพอวัยวะ และระบบต่างๆของร่างกายมนุษย์ ได้แก่ ระบบกระดูก ระบบกล้ามเนื้อ เป็นต้น
.....5.2 การใช้สีกับสื่อการเรียนการสอน
........คือการเลือกใช้สีควรจะได้ศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจเพื่อที่จะได้นำสีไปใช้ประกอบในงานออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ เพื่อให้งานนั้นสามารถตอบสนองได้ตรงตามจุดประสงค์มากที่สุดซึ่งแต่ละสีให้ความรู้สึกและอารมณ์
.....5.3 การเขียนภาพการ์ตูน
........คือจงใจให้ผิดเพี้ยนไปจากของจริงมากมายเกินกว่าปกติ ดูเสมือนว่าเขียนออกมาอย่างหยาบๆ ง่ายๆ แต่ช่างเขียนนั้นเขียนขึ้นโดยความยากลำบากทั้งนั้นทุกรูป
.....5.4 การออกแบบตัวอักษรหัวเรื่อง
........คือตัวอักษรที่เป็นสากลส่วนมากใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษ ต้นตระกูลของอักษรภาษาอังกฤษ คือ อักษรโฟนิเซีย ซึ่งแพร่หลายอย่างกว้างขวางในยุโรป ประมาณ 1,000 ปีก่อนคริสต์กาล ชาวกรีกได้นำไปใช้เป็นหลักการเขียนตัวอักษร แล้วนำไปสู่พวกโรมันแก้ไขปรับปรุงจนกลายเป็นอักษรภาษาอังกฤษที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
หน่วยที่ 6 การสร้างสื่อราคาเยา
........คือวัสดุทุกสิ่งทุกอย่างที่ ครูพึงหามาใช้ ประกอบการสอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งที่หามาได้ง่ายในท้องถิ่น ซึ่งครู ผู้สอนส่วนหนึ่งมักมองข้ามไป เมือนึกถึงวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการสอนสักเรื่องหนึ่ง ก็มักจะนึกถึงสื่อสำเร็จรูปจำพวกรูปภาพ แผนภูมิ สไลด์ ที่มีผลิตขาย ราคาค่อนข้างสูง
.....6.1 ความหมาย คุณค่า และประโยชน์ของสื่อราคาเยา
........หมายถึง สื่อที่มีราคาถูกแล้วยังหมายถึงสื่อต่าง ๆ ที่มีอยู่ตามธรรมชาติไม่ต้องซื้อหาด้วยราคาแพง สิ่งที่ครูคิดประดิษฐ์ขึ้นด้วยวัสดุราคาถูก หรือหาได้ง่าย รวมถึงสื่อสิ่งของได้เปล่าจากการแจกจ่ายเผยแพร่ของหน่วยงาน
.....6.2 หลักการออกแบบและการสร้างสื่อราคาเยา
........หมายถึงวัสดุทุกสิ่งทุกอย่าง ที่ครูพึงหามาใช้ประกอบการเรียนการสอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น ซึ่งครูผู้สอนส่วนหนึ่งมักจะมองข้ามไป
.....6.3 วัสดุกับเทคนิคการออกแบบ
........หมายถึงวัสดุทุกสิ่งทุกอย่าง ที่ครูพึงหามาใช้ประกอบการเรียนการสอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น ซึ่งครูผู้สอนส่วนหนึ่งมักจะมองข้ามไป
.....6.4 การประเมินสื่อการสอนราคาเยา
........1. ความจำเป็นด้านเศรษฐกิจของชาติ
........2. ฐานะการเงินของโรงเรียน
........3. วัสดุอุปกรณ์สำเร็จรูปมีราคาสูง
........4. สื่อสำเร็จรูปไม่สอดคล้องกับสภาพชีวิตและสังคม
........5 คุณสมบัติของสื่อที่จะส่งผลต่อการเรียนรู้
หน่วยที่ 7 การผลิตสื่อการเรียนการสอนด้วยคอมพิวเตอร์
........ปัจจุบันมีการพูดถึงการพัฒนาระบบ e-learning ในสถาบันการศึกษาเป็นอย่างมาก รัฐบาลได้ให้การสนับสนุนกับการพัฒนาระบบ e-learning เป็นอย่างมาก และได้มีการพัฒนาในส่วนต่างๆ อย่างรวดเร็วตามการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ท ตัวอย่างที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรมก็คือการถือกำเนิดของ มหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย (Thailand cyber university) และการพัฒนาศูนย์กลาง e-learning ของโรงเรียนมัธยมศึกษาทั่วประเทศ
.....7.1 คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)
........หมายถึง สื่อการเรียนการสอนทางคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่ง ซึ่งใช้ความสามารถของคอมพิวเตอร์ในการนำเสนอสื่อประสมอันได้แก่ ข้อความ ภาพนิ่ง กราฟิก แผนภูมิ กราฟ วิดีทัศน์ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง เพื่อถ่ายทอดเนื้อหาบทเรียน หรือองค์ความรู้ในลักษณะที่ ใกล้เคียงกับการสอนจริงในห้องเรียนมากที่สุด
.....7.2 การใช้เครือข่ายเพื่อการเรียนการสอน
........ตามกระแสการเปลี่ยนสังคมที่ต้องมีความรู้ใหม่เป็นหลักฐานการเรียนรู้เทคโนโลยีและการเก็บความรูั้ใหม่จึงเป็นสิ่งที่ เราขาดไม่ได้ สถาบันการศึกษาและครูมีบทบาทมากขึ้นเพราะต้องเตรียมการเรียนการสอนเพื่อส่งนักเรียนให้เข้าทำงาน ในสังคมใหม่ สมาคม APEC เพื่อการศึกษาทางอินเตอร์เนตจัดทำไว้เพื่อตอบสนองความต้องการดังกล่าวของนักเรียน และครู
หน่วยที่ 8 การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์
........โดยการผลิตงานสิ่งพิมพ์จะประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ เช่น การจัดเตรียมไฟล์งาน การจัดการกับรูปภาพ การเลือกกระดาษ การออกแบบรูปลักษณ์ หรือรูปเล่ม การจัดหน้า เพื่อให้ได้ผลงานตามรูปแบบที่ต้องการ
.....8.1 ความหมาย คุณค่า และประโยชน์ของสื่อสิ่งพิมพ์
........สิ่งพิมพ์ หมายถึง สมุด แผ่นกระดาษหรือวัตถุใดๆ
.....8.2 ประเภทของสื่อสิ่งพิมพ์
........จำแนกได้ เป็น 4 กลุ่มใหญ่ คือ
1. หนังสือพิมพ์
2. นิตยสารวารสาร
3. หนังสือเล่ม
4. สิ่งพิมพ์เฉพาะกิจ
.....8.3 ระบบการพิมพ์
........ในโลกนี้มีอยู่หลายอย่างค่ะ แต่ที่จะแนะนำนี่เป็นระบบที่นิยมใช้ในบ้านเรา
1. ระบบออฟเซ็ต
2. ระบบซิลค์สกรีน
3. การพิมพ์โรเนียวแบบดิจิตอล
.....8.4 การเลือกและการใช้สื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการเรียนการสอน
........การพิมพ์จึงเป็นวิธีการหนึ่งในการนำมาใช้ผลิตสำเนาเอกสารทางวิชาการซึ่งต้องการปริมาณมาก เช่น หนังสือ ตำราต่าง ๆ เพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอน หรือเพื่อใช้เป็นคู่มือ เป็นตำราในการค้นคว้าอ้างอิง ทั้งยังช่วยในการเผยแพร่ ความคิดทางด้าน วิทยาการต่าง ๆ ให้เจริญก้าวหน้าอีกด้วย ในการให้การศึกษาจำเป็นต้องมีเอกสารประกอบการเรียนการสอน เพื่อขยายความรู้และทฤษฎีต่าง ๆ ให้กว้างขวางขึ้น

สื่อการสอน

ความหมายและประโยชน์ของสื่อการสอนและประเภทของสื่อการสอน
ความหมายของสื่อ เมื่อพิจารณาคำว่า "สื่อ" ในภาษาไทยกับคำในภาษาอังกฤษ พบว่ามีความหมายตรงกับคำว่า "media" (ในกรณีที่มีความหมายเป็นเอกพจน์จะใช้คำว่า "medium")คำว่า "สื่อ" ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ได้ให้ ความหมายของคำนี้ไว้ดังนี้ "สื่อ (กริยา) หมายถึง ติดต่อให้ถึงกัน เช่น สื่อความหมาย, ชักนำให้รู้จักกัน สื่อ (นาม) หมายถึง ผู้หรือสิ่งที่ติดต่อให้ถึงกันหรือชักนำให้รู้จักกัน เช่น เขาใช้จดหมายเป็นสื่อติดต่อกัน, เรียกผู้ที่ทำหน้าที่ชักนำใหชายหญิงได้แต่งงานกันว่า พ่อสื่อ หรือ แม่สื่อ; (ศิลปะ) วัสดุต่างๆ ที่นำมาสร้างสรรค์งานศิลปกรรม ให้มีความหมายตามแนวคิด ซึ่งศิลปินประสงค์แสดงออกเช่นนั้น เช่น สื่อผสม" นักเทคโนโลยีการศึกษาได้มีการนิยามความหมายของคำว่า "สื่อ" ไว้ดังต่อไปนี้ Heinich และคณะ (1996) Heinich เป็นศาสตราจารย์ ภาควิชาเทคโนโลยีระบบการเรียนการสอน ของมหาวิทยาลัยอินเดียน่า (Indiana University) ให้คำจำกัดความคำว่า "media" ไว้ดังนี้ "Media is a channel of communication." ซึ่งสรุปความเป็นภาษาไทยได้ดังนี้ "สื่อ คือช่องทางในการติดต่อสื่อสาร" Heinich และคณะยังได้ขยายความเพิ่มเติมอีกว่า "media มีรากศัพท์มาจากภาษาลาติน มีความหมายว่า ระหว่าง (between) หมายถึง อะไรก็ตามซึ่งทำการบรรทุกหรือนำพาข้อมูลหรือสารสนเทศ สื่อเป็นสิ่งที่อยู่ระหว่างแหล่งกำเนิดสารกับผู้รับสาร"A. J. Romiszowski (1992) ศาสตราจารย์ทางด้านการออกแบบ การพัฒนา และการประเมินผลสื่อการเรียนการสอน ของมหาวิทยาลัยซีราคิวส์ (Syracuse University) ให้คำจำกัดความคำว่า "media" ไว้ดังนี้ "the carriers of messages, from some transmitting source (which may be a human being or an inanimate object) to the receiver of the message (which in our case is the learner)" ซึ่งสรุปความเป็นภาษาไทยได้ดังนี้ "ตัวนำสารจากแหล่งกำเนิดของการสื่อสาร (ซึ่งอาจจะเป็นมนุษย์ หรือวัตถุที่ไม่มีชีวิต ) ไปยังผู้รับสาร (ซึ่งในกรณีของการเรียนการสอนก็คือ ผู้เรียน)"ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า สื่อ หมายถึง สิ่งใดๆ ก็ตามที่เป็นตัวกลางระหว่างแหล่งกำเนิดของสารกับผู้รับสาร เป็นสิ่งที่นำพาสารจากแหล่งกำเนินไปยังผู้รับสาร เพื่อให้เกิดผลใดๆ ตามวัตถุประสงค์ของการสื่อสาร
ความหมายของสื่อการสอนเมื่อพิจารณาคำว่า "สื่อการสอน" กับคำในภาษาอังกฤษ จะมีความหมายตรงกับคำว่า "instructional media" หรือบางครั้งจะพบว่ามีการใช้คำว่า "สื่อการศึกษา (educational media) " ด้วยเช่นกันพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ได้ให้ ความหมายของคำว่า "สื่อการศึกษา" ไว้ดังนี้ " (นาม) วิธีการ เครื่องมือ และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้เป็นสื่อในการศึกษา" นักวิชาการด้านการศึกษาได้นิยามความหมายของคำว่า "สื่อการสอน หรือ สื่อการศึกษา" ไว้ดังต่อไปนี้ T. Newby และคณะ (1996) รองศาสตราจารย์ สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาการเรียนการสอน ของมหาวิทยาลัยเพอร์ดู (Purdue University) ให้คำจำกัดความคำว่า "instructional media" ไว้ดังนี้ "Channels of communication that carry messages with an instructional purpose; the different ways and means by which information can be delivered to learner." ซึ่งสรุปความเป็นภาษาไทยได้ดังนี้ "ช่องทางต่างๆ ของการสื่อสาร ซึ่งนำพาสารต่างๆ ไปตามวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน ด้วยเส้นทางและวิธีการที่สามารถนำพาสารสนเทศไปนำส่งให้ถึงผู้เรียนได้"Fred Percival และ Henry Ellington (1984) ได้ให้คำจำกัดความคำว่า "instructional media" ไว้ดังนี้ "The physical tools of educational technology, including printed words, film, tape, records, slides and the various combinations thereof." ซึ่งสรุปความเป็นภาษาไทยได้ดังนี้ "เครื่องมือต่างๆ ทางด้านเทคโนโลยีการศึกษา อันได้แก่ เอกสารสิ่งพิมพ์ ฟิลม์ เทป เครื่องเล่นแผ่นเสียง สไลด์ และการนำเครื่องมือเหล่านี้มาใช้งานร่วมกัน"กิดานันท์ มลิทอง (2540) รองศาสตราจารย์ ภาควิชาโสตทัศนศึกษา ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้คำจำกัดความของสื่อการสอนไว้ว่า "สื่อชนิดใดก็ตามไม่ว่าจะเป็น เทปบันทึกเสียง สไลด์ วิทยุ โทรทัศน์ วีดิทัศน์ แผนภูมิ ภาพนิ่ง ฯลฯ ซึ่งบรรจุเนื้อหาเกี่ยวกับการเรียนการสอน สิ่งเหล่านี้เป็นวัสดุทางกายภาพที่นำมาใช้ในเทคโนโลยีการศึกษา เป็นสิ่งที่ใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางสำหรับทำให้การสอนของผู้สอนส่งไปถึงผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายที่ผู้สอนวางไว้เป็นอย่างดี"สุโชติ ดาวสุโข และสาโรจน์ แพ่งยัง (2535) อาจารย์ ภาควิชาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร และรองศาสตราจารย์ ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้คำจำกัดความของสื่อการสอนไว้ว่า "สิ่งใดๆ ก็ตามที่เป็นตัวกลางถ่ายทอดความรู้ หรือช่วยในการเรียนรู้ ซึ่งผู้สอนและผู้เรียนเป็นผู้ใช้ เพื่อช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น"ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2533) รองศาสตราจารย์ ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ให้คำจำกัดความของสื่อการสอนไว้ว่า "สิ่งต่าง ๆ ที่ผู้สอนและผู้เรียนนำมาใช้ในระบบการเรียนการสอน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ตามจุดมุ่งหมายของการเรียน การสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น"
เสาวนีย์ สิกขาบัณฑิต (2528) รองศาสตราจารย์ ภาควิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ให้คำจำกัดความของสื่อการสอนไว้ว่า "วัสดุ เครื่องมือ และ/หรือ วิธีการ ที่จะนำหรือถ่ายทอดสารไปยังผู้รับ"ชัยยงศ์ พรหมวงศ์ (2523) ศาสตราจารย์ สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ให้คำจำกัดความของสื่อการศึกษาไว้ว่า "ระบบการนำวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการมาเป็นตัวกลางในการให้การศึกษา ความรู้ แก่ผู้เรียน" ส่วนคำว่า สื่อการสอน หมายถึง (2523 : 112) "วัสดุ (สิ่งสิ้นเปลือง) อุปกรณ์ (เครื่องมือที่ไม่ผุพังได้ง่าย) และวิธีการ (กิจกรรม ละคร เกม การทดลอง ฯลฯ) ซึ่งใช้เป็นสื่อกลางให้ผู้สอนสามารถส่งหรือถ่ายทอดความรู้ เจตคติ (อารมณ์ ความรู้สึก ความสนใจ ทัศนคติและค่านิยม) และทักษะไปยังผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ"ดังนั้น สรุปได้ว่า สื่อการสอน หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ ซึ่งถูกนำมาใช้ในการการเรียนการสอน เพื่อเป็นตัวกลางในการนำส่งหรือถ่ายทอดความรู้ ทักษะ และเจตคติ จากผู้สอนหรือแหล่งความรู้ไปยังผู้เรียน ช่วยให้การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ และทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนที่ตั้งไว้คุณค่าของสื่อการสอนสื่อการสอนจัดองค์ประกอบหนึ่งที่มีความสำคัญและเป็นสิ่งจำเป็นอย่างหนึ่งในระบบการเรียนการสอนหรือระบบการศึกษา เมื่อพิจารณาถึงประโยชน์หรือคุณค่าของสื่อการสอนในระบบการเรียนการสอน ได้มีนักการศึกษาหลายท่านแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวไว้หลากหลาย ในที่นี้จะพิจารณาเกี่ยวกับประโยชน์หรือคุณค่าของสื่อการสอนออกโดยแบ่งออกเป็น 2 ด้าน คือ คุณค่าที่มีต่อผู้เรียน และ คุณค่าที่มีต่อผู้สอน ซึ่งรายละเอียดของแต่ละด้านนั้นมีดังนี้
ก. คุณค่าของสื่อการสอนที่มีต่อผู้เรียนเมื่อพิจารณาคุณค่าของสื่อการสอนที่มีต่อผู้เรียน จะพบว่าสื่อการสอนมีคุณค่าต่อผู้เรียนดังต่อไปนี้ (Kemp, J.R. 1989 อ้างใน เชาวเลิศ และกอบกุล, 2543; สุโชติ และ สาโรจน์ 2535; กิดานันท์ 2540)
1.ช่วยกระตุ้นและเร้าความสนใจของผู้เรียนสื่อการสอนช่วยทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจเนื้อหาของบทเรียน ที่ถูกนำเสนอผ่านทางสื่อการสอน ความสนใจของผู้เรียนเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งในกระบวนการเรียนรู้ เพราะอาจนับได้ว่า ความสนใจเป็นบันไดขั้นแรกที่จะนำไปสู่การเรียนรู้ของผู้เรียนในที่สุด ตัวอย่างของการใช้สื่อการสอนในกรณีนี้ เช่น ก่อนที่จะเริ่มต้นการสอน ผู้สอนทำการฉายวีดิทัศน์ที่เป็นโฆษณาทางโทรทัศน์ซึ่งมีเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในบทเรียน ความน่าสนใจของสื่อวีดิทัศน์จะช่วยกระตุ้นและเร้าความสนใจของผู้เรียน นำให้ผู้เรียนสนใจฟังเนื้อหาหลักของบทเรียนต่อไป
2.ช่วยให้การเรียนรู้ของผู้เรียนเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ สะดวก และรวดเร็วสื่อการสอนควรเป็นสิ่งที่ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยให้ผู้เรียนรับรู้และทำความเข้าใจเนื้อหาบทเรียนได้อย่างสะดวก ง่าย และรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบทเรียนที่เนื้อหามีความสลับซับซ้อนหรือยากที่จะทำความเข้าใจ ตัวอย่างของการใช้สื่อการสอน เช่น การใช้ภาพวาดเพื่อแสดงให้เห็นถึงเส้นทางการไหลเวียนของโลหิตในร่างกาย หรือการใช้หุ่นจำลองเพื่อแสดงให้เห็นถึงลักษณะและตำแหน่งที่ตั้งของอวัยวะภายใน เป็นต้น การใช้สื่อการสอนจะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาบทเรียนได้รวดเร็วและง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยลดปัญหาของการสื่อความหมายโดยการพูดซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ ทำให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจที่ถูกต้องและตรงกับวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน
3.ช่วยแก้ปัญหาเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลในบริบทของการเรียนรู้บุคคลหรือผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกันในด้านต่างๆ เช่น เพศ ระดับสติปัญญา ความถนัด ความสนใจ สมรรถภาพทางกาย เป็นต้น สิ่งเหล่านี้มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยอาจทำให้ผู้เรียนมีความถนัด หรือความสามารถในการรับรู้ และการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน การใช้สื่อการสอนจะช่วยลดอุปสรรคหรือแก้ปัญหาเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลที่มีผลต่อการเรียนรู้ ให้ลดลงหรือหมดไปได้ ตัวอย่างเช่น การใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer-Assisted Instruction) ให้ผู้เรียนเรียนเป็นรายบุคคล จะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนแต่ละคนใช้เวลาในการเรียนตามความสามารถในการเรียนของตนเอง เลือกลำดับหรือเนื้อหาบทเรียนตามที่ตนเองสนใจหรือถนัด ในกรณีนี้สื่อการสอนจะช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเรียนรวมกันในชั้นเรียน ที่ผู้เรียนที่เรียนรู้ได้ช้ามักจะทำความเข้าใจเนื้อหาบทเรียนได้ไม่ทันกับกลุ่มผู้เรียนที่เรียนรู้ได้เร็วกว่า เป็นต้น
4.ช่วยให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน และระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนสื่อการสอนที่ถูกออกแบบมาให้ผู้เรียนต้องมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมการเรียนการสอน ตัวอย่างเช่น การใช้เกมต่อภาพ (jigsaw) แข่งขันกันเป็นกลุ่มเพื่อหาคำตอบจากภาพที่ต่อเสร็จสมบูรณ์ การใช้เกมแขวนคอ (hang man) เพื่อทายคำศัพท์ เป็นต้น สื่อการสอนเหล่านี้ช่วยเอื้ออำนวยให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนด้วยกัน หรือระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน ช่วยให้บรรยากาศของการเรียนการสอนมีชีวิตชีวา มีสังคมในห้องเรียนเกิดขึ้น นำมาซึ่งการช่วยเหลือกันในด้านการเรียนรู้ต่อไป
5.ช่วยให้สามารถนำเนื้อหาที่มีข้อจำกัดมาสอนในชั้นเรียนได้ตัวอย่างของเนื้อหาที่มีข้อจำกัด เช่น เนื้อหาที่มีความอันตราย เนื้อหาที่เป็นเรื่องหรือเหตุการณ์ในอดีต เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับระยะทางที่ไกล เนื้อหามีค่าใช้จ่ายสูง เป็นต้น การใช้สื่อการสอนจะช่วยลดหรือขจัดปัญหาหรือข้อจำกัดเหล่านี้ออกไปได้ ตัวอย่างเช่น การฉายวีดิทัศน์ที่บันทึกเหตุการณในอดีตไว้ การใช้ภาพถ่ายของพื้นผิวดวงจันทร์ การใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในรูปแบบของสถานการณ์จำลองเพื่อฝึกทักษะการตัดสินใจในเรื่องของการปลดชนวนวัตถุระเบิด การใช้ Flight Simulator เพื่อฝึกนักบิน เป็นต้น การใช้สื่อการสอนจะช่วยขจัดปัญหาในการสอนเรื้อหาที่มีข้อจำกัดดังที่ได้กล่าวไปแล้วได้
6.ช่วยให้ผู้เรียนเรียนอย่างกระตือรือร้นและมีส่วนร่วมกับการเรียนสภาพการเรียนการสอนที่ดี ต้องจัดให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างกระตือรือร้น (active learning) สื่อการสอนที่ได้รับการออกแบบมาเป็นอย่างดี ต้องเป็นสื่อการสอนที่สามารถกระตุ้นหรือเร้าให้ผู้เรียนทำการเรียนรู้ด้วยความกระตือรือร้น โดยให้ผู้เรียนต้องมีปฏิสัมพันธ์กับบทเรียน โดยควรเน้นที่ปฏิสัมพันธ์ด้านการใช้ความคิดหรือกิจกรรมทางสมอง ตัวอย่างของสื่อการสอนที่สามารถกำหนดเงื่อนไขให้ผู้เรียนต้องเรียนรู้อย่างกระตือรือร้นหรือมีส่วนร่วมกับการเรียน ได้แก่ หนังสือบทเรียนแบบโปรแกรม บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นต้น
7.ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างเพลิดเพลิน สนุกสนาน และไม่เบื่อหน่ายต่อการเรียนหากโดยปกติแล้วผู้สอนใช้วิธีการสอนแบบบรรยายเป็นส่วนใหญ่ การใช้สื่อการสอน จะเป็นการเปลี่ยนบรรยากาศในห้องเรียนให้แตกต่างไปจากสิ่งที่เคยปฏิบัติเป็นประจำในชั้นเรียน ทำให้ผู้เรียนไม่เบื่อหน่ายต่อการเรียน สื่อการสอนบางอย่างยังช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเพลิดเพลินในการเรียน เรียนรู้อย่างสนุกสนานตัวอย่างเช่น การใช้สไลด์ประกอบเสียง การทดลองในห้องปฏิบัติการ การชมนิทรรศการ เป็นต้น
ข. คุณค่าของสื่อการสอนที่มีต่อผู้สอนเมื่อพิจารณาคุณค่าของสื่อการสอนที่มีต่อผู้สอน จะพบว่าสื่อการสอนมีคุณค่าต่อผู้สอนดังต่อไปนี้ (Kemp, J.R. 1989 อ้างใน เชาวเลิศ และกอบกุล, 2543; สุโชติ และ สาโรจน์ 2535; กิดานันท์ 2540)
1.ช่วยแบ่งเบาภาระของผู้สอนในด้านการเตรียมการสอนหรือเนื้อหาการสอนเมื่อใช้สื่อการสอนผู้สอนไม่ต้องจดจำเนื้อหาบทเรียนทั้งหมดเพื่อนำมาบรรยายด้วยตนเอง เพราะรายละเอียดของเนื้อหาบทเรียนส่วนใหญ่จะถูกนำเสนอผ่านทางสื่อการสอน ซึ่งช่วยลดงานในการเตรียมตัวสอนลงไปได้มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ต้องสอนซ้ำในเนื้อหาเดิม ก็สามารถนำสื่อการสอนที่เคยใช้สอนกลับมาใช้ได้อีก การใช้สื่อการสอนยังสามารถลดภาระเรื่องเวลาในการสอนได้อีกเช่นกัน ตัวอย่างเช่น การใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนการฝึกทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ การใช้ชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นต้น กรณีเหล่านี้ผู้เรียนสามารถศึกษาได้ด้วยตนเองโดยที่ผู้สอนไม่ต้องใช้เวลามาสอนผู้เรียนโดยตัวผู้สอน
2.ช่วยสร้างบรรยากาศในการสอนให้น่าสนใจในการสอนด้วยการบรรยายอย่างเดียวนั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้สอนควรจะต้องมีความสามารถเฉพาะตัวในการกระตุ้นและตรึงความสนใจของผู้เรียน ตลอดจนการสร้างบรรยากาศในการเรียนให้มีความน่าสนใจ ซึ่งถ้าไม่เป็นเช่นนั้นแล้วการใช้สื่อการสอนจะช่วยสร้างบรรยากาศในการเรียนให้มีความน่าสนใจขึ้นมาได้
3.ช่วยสร้างความมั่นใจในการสอนให้แก่ผู้สอนในกรณีที่เนื้อหาบทเรียนมีหลายขั้นตอน มีการเรียงลำดับ มีจำนวนมาก หรือยากที่จะจดจำ การใช้สื่อการสอนจะช่วยให้ผู้สอนมีความมั่นใจในการสอนมากขึ้น เพราะเนื้อหาเหล่านั้นสามารถที่จะบันทึกไว้ได้ในสื่อการสอน ตัวอย่างเช่น การใช้แผ่นใส ซึ่งช่วยผู้สอนในเรื่องของการจำลำดับการสอน เนื้อหา ตลอดจนข้อความที่ยากต่อการจดจำ ได้เป็นอย่างดี เมื่อใช้สื่อการสอน ผู้สอนจะมีความมั่นใจในเรื่องลำดับการสอน และเนื้อหาการสอน
4.กระตุ้นให้ผู้สอนตื่นตัวอยู่เสมอเมื่อผู้สอนเห็นคุณค่าของสื่อการสอน ผู้สอนก็จะนำสื่อการสอนมาใช้ในการสอนของตนเอง ซึ่งในขั้นการเตรียมผลิตสื่อการสอน การเลือกสื่อการสอน หรือการจัดหาสื่อการสอน ตลอดจนการแสวงหาเทคนิคใหม่ ๆ มาใช้ในการสอน จะทำให้ผู้สอนเป็นผู้มีความตื่นตัว และมีการพิจารณาเพื่อทำให้การสอนบรรลุวัตถุประสงค์ และดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดการปรับปรุงการสอนของตนเอง และทำให้การเรียนการสอนมีความน่าสนใจมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการใช้สื่อการสอนนอกจากคุณค่าของสื่อการสอนที่มีต่อผู้เรียน และผู้สอนดังที่ได้กล่าวไปแล้วนั้น มีการวิจัยเกี่ยวกับสื่อการสอนจำนวนมากที่สนับสนุนและบ่งชี้ว่า สื่อการสอนมีประโยชน์หรือมีคุณค่าต่อกระบวนการเรียนการสอน เช่น สื่อการสอนช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้มากขึ้น โดยใช้เวลาที่น้อยลง สื่อการสอนช่วยให้ผู้เรียนจดจำเนื้อหาบทเรียนได้นานกว่าการฟังบรรยายแต่เพียงอย่างเดียว เป็นต้นสรุปได้ว่า สื่อการสอนมีคุณค่าต่อระบบการเรียนการสอนหรือการศึกษาเป็นอย่างยิ่ง ในหลายประการด้วยกัน ซึ่งการพิจารณาคุณค่าของสื่อการสอนอาจทำได้โดยการพิจารณาถึงคุณค่าที่เกิดขึ้นต่อผู้เรียน และผู้สอน ซึ่งเป็นบุคคลที่มีความสำคัญและมีบทบาทมากในกระบวนการเรียนการสอน ประเด็นสำคัญของคุณค่าของสื่อการสอน คือ สื่อการสอนช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ประเภทของสื่อการสอน
เอ็ดการ์ เดล จำแนกประสบการณ์ทางการศึกษา เรียงลำดับจากประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมไปสู่ประสบการณ์ที่เป็นนามธรรม โดยยึดหลักว่า คนเราสามารถเข้าใจสิ่งที่เป็นรูปธรรมได้ดีและเร็วกว่าสิ่งที่เป็นนามธรรมซึ่งเรียกว่า "กรวยแห่งประสบการณ์" (Cone of Experiences) ซึ่งมีทั้งหมด 10 ขั้น ดังแผนภาพต่อไปนี้สื่อการสอนช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โรเบิร์ต อี. ดี. ดีฟเฟอร์ แบ่งประเภทของสื่อการสอน ดังนี้
1. วัสดุที่ไม่ต้องฉาย ได้แก่ รูปภาพ แผนภูมิ กราฟ ของจริง ของตัวอย่าง หุ่นจำลอง แผนที่ กระดาษสาธิต ลูกโลก กระดานชอล์ค กระดานนิเทศ กระดานแม่เหล็ก การแสดงบทบาท นิทรรศการ การสาธิต และการทดลองเป็นต้น
2. วัสดุฉายและเครื่องฉาย ได้แก่ สไลด์ ฟิล์มสตริป ภาพโปร่งใส ภาพทึบ ภาพยนตร์ และเครื่องฉายต่าง ๆ เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายสไลด์ และฟิล์มสตริป เครื่องฉายกระจกภาพ เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ เครื่องฉายภาพทึบแสง เครื่องฉายภาพจุลทัศน์ เป็นต้น
3. โสตวัสดุและเครื่องมือ ได้แก่ แผ่นเสียง เครื่องเล่นจานเสียง เทป เครื่องบันทึกเสียง เครื่องขยายเสียง และวิทยุ เป็นต้นศาสตราจารย์สำเภา วรางกูร ได้แบ่งประเภทและชนิดของสื่อการสอน ดังนี้
ก. ประเภทวัสดุโสตทัศน์ (Audio-Visual Materials)
1. ประเภทภาพประกอบการสอน(Picture Instructional Materials)I. ภาพที่ไม่ต้องฉาย (Unprojected Pictures)i. ภาพเขียน (Drawing)ii. ภาพแขวนผนัง (Wall Pictures)iii. ภาพตัด (Cut-out Pictures)iv. สมุดภาพ (Pictorial Books, Scrapt Books)v. ภาพถ่าย (Photographs)II. ภาพที่ต้องฉาย (Project Pictures)i. สไลด์ (Slides)ii. ฟิล์มสตริป (Filmstrips)iii. ภาพทึบ (Opaque Projected Pictures)iv. ภาพโปร่งแสง (Transparencies)v. ภาพยนตร์ 16 มม., 8 มม., (Motion Pictures)vi. ภาพยนตร์ (Video Tape)
2. ประเภทวัสดุอุปกรณ์ลายเส้น (Graphic Instructional Materials)I. แผนภูมิ (Charts)II. กราฟ (Graphs)III. แผนภาพ (Diagrams)IV. โปสเตอร์ (Posters)V. การ์ตูน (Cartoons, Comic strips)VI. รูปสเก็ช (Sketches)VII. แผนที่ (Maps)VIII. ลูกโลก (Globe)
3. ประเภทกระดานและแผ่นป้ายแสดง (Instructional Boards and Displays)I. กระดานดำหรือกระดานชอล์ก (Blackboard,Chalk Board)II. กระดานผ้าสำลี (Flannel Boards)III. กระดานนิเทศ (Bulletin Boards)IV. กระดานแม่เหล็ก (Magnetic Boards)V. กระดานไฟฟ้า (Electric Boards)
4. ประเภทวัสดุสามมิติ (Three-Dimensional Materials) มีI. หุ่นจำลอง (Models)II. ของตัวอย่าง (Specimens)III. ของจริง (Objects)IV. ของล้อแบบ (Mock-Ups)V. นิทรรศการ (Exhibits)VI. ไดออรามา (Diorama)VII. กระบะทราย (Sand Tables)
5. ประเภทโสตวัสดุ (Auditory Instructional Materials)I. แผ่นเสียง (Disc Recorded Materials)II. เทปบันทึกเสียง (Tape Recorded Materials)III. รายการวิทยุ (Radio Program)
6. ประเภทกิจกรรมและการละเล่น (Instructional Activities and Plays)I. การทัศนาจรศึกษา (Field Trip)II. การสาธิต (Demonstrations)III. การทดลอง (Experiments)IV. การแสดงแบบละคร (Drama)V. การแสดงบทบาท (Role Playing)VI. การแสดงหุ่น (Pupetry)
ข. ประเภทเครื่องมือโสตทัศนูปกรณ์ (Audio-Visual Equipments)
1. เครื่องฉายภาพยนตร์ 16 มม. , 8 มม.
2. เครื่องฉายสไลด์และฟิล์มสตริป (Slide and Filmstrip Projector)
3. เครื่องฉายภาพทึบแสง (Opaque Projectors)
4. เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ (Overhead Projector)
5. เครื่องฉายกระจกภาพ (3 1/4 "x 4" หรือ Lantern Slide Projector)
6. เครื่องฉายภาพจุลทัศน์ (Micro-Projector)
7. เครื่องเล่นจานเสียง (Record Plays)
8. เครื่องเทปบันทึกภาพ (Video Recorder)
9. เครื่องรับโทรทัศน์ (Television Receiver)
10. จอฉายภาพ (Screen)
11. เครื่องรับวิทยุ(Radio Receive)
12. เครื่องขยายเสียง(Amplifier)
13. อุปกรณ์เทคโนโลยีแบบใหม่ต่างๆ (Modern Instructional Technology Devices) เช่น โทรทัศนศึกษา ห้องปฏิบัติการภาษา โปรแกรมเรียน (Programmed Learning) และอื่นๆจากการศึกษาถึงความสำคัญ ตลอดจนการแบ่งประเภทและชนิดของสื่อการสอนข้างต้น ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของสื่อการสอนที่มีบทบาทในการทำให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ดี แม้สื่อการสอนจะมีความสำคัญและมีประโยชน์มาก แต่ก็ต้องอาศัยเทคนิคในการใช้สื่อการสอนด้วย ซึ่งในเรื่องนี้ได้มีนักวิชาการให้ข้อคิดในการใช้สื่อต่าง ๆ กับการสร้างแบบการเรียนรู้http://www.la.ubu.ac.th/Thai/Research/Data/Detail/COMPARE/unit2_2.html

การออกแบบสื่อการสอน

การออกแบบสื่อ
องค์ประกอบที่สำคัญในการเรียนการสอนคือสิ่งที่ครูมักนำไปประกอบการเรียนการสอนนั่นก็คือ สื่อการสอนนั่นเอง สื่อการสอนนับว่ามีประโยชน์มากเพราะสื่อการสอนเปรียบเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้เข้าใจในเนื้อหาและได้เห็นภาพได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้นมากกว่าที่ครูผู้สอนจะสอนโดยการมาบรรยายหรือสอนตามเนื้อหา โดยไม่มีอุปกรณ์ช่วยสอน
สื่อการสอน คือ การนำสื่อมาใช้ในการเรียนการสอน ซึ่งเป็นการนำวัสดุ เครื่องมือและวิธีการมาประกอบในการถ่ายทอดความรู้และเนื้อหาไปยังผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ในสิ่งที่ครูได้ถ่ายทอด รวมไปถึงมีความเข้าใจตรงตามเนื้อหา นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ง่ายยิ่งขึ้น และช่วยประหยัดเวลา หลักในการใช้สื่อ ในการพิจารณาเลือกใช้สื่อการสอนแต่ละครั้งครูควรพิจารณาถึงความเหมาะสมของสื่อการสอนแต่ละชนิด ดังนี้
1. ความเหมาะสม สื่อที่จะใช้นั้นเหมาะสมกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของการสอนหรือไม่
2. ความถูกต้อง สื่อที่จะใช้ช่วยให้นักเรียนได้ข้อสรุปที่ถูกต้องหรือไม่
3. ความเข้าใจ สื่อที่จะใช้นั้นควรช่วยให้นักเรียนรู้จักคิดอย่างมีเหตุผลและให้ข้อมูลที่ถุกต้องแก่นักเรียน
4. ประสบการณ์ที่ได้รับ สื่อที่ใช้นั้นช่วยเพิ่มพูนประสบการณ์ให้แก่นักเรียน
5. เหมาะสมกับวัย ระดับความยากง่ายของเนื้อหาที่บรรจุอยู่ในสื่อชนิดนั้น ๆ เหมาะสมกับระดับความสามารถ ความสนใจ และความต้องการของนักเรียนหรือไม่
6. เที่ยงตรงในเนื้อหา สื่อนั้นช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้เนื้อหาที่ถูกต้องหรือไม่
7. ใช้การได้ดี สื่อที่นำมาใช้ควรทำให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนรู้ได้ดี
8. คุ้มค่ากับราคา ผลที่ได้จะคุ้มค่ากับเวลา เงิน และการจัดเตรียมสื่อนั้นหรือไม่
9. ตรงกับความต้องการ สื่อนั้นช่วยให้นักเรียนร่วมกิจกรรมตามที่ครูต้องการหรือไม่
10.ช่วยเวลาความสนใจ สื่อนั้นช่วยกระตุ้นให้นักเรียนสนใจในช่วงเวลานานพอสมควรหรือไม่
ประโยชน์ของสื่อ
1. เปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้จากวัตถุที่เป็นรูปธรรม ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้นักเรียนได้สร้างแนวความคิดด้วยตนเอง
2. กระตุ้นให้นักเรียนเกิดความสนใจในเรื่องที่จะเรียนมากขึ้น
3. ช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้ง่ายขึ้นและสามารถจดจำได้นาน
4. ให้ประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้นักเรียนทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเอง
5. นำประสบการณ์นอกห้องเรียนมาให้นักเรียนศึกษาในห้องเรียนได้ แม้ว่าสื่อการสอนจะมีประโยชน์และมีคุณค่าต่อการเรียนการสอน แต่ถ้าครูผู้สอนผลิตสื่อหรือนำสื่อไปใช้ไม่ตรงตามจุดประสงค์และเนื้อหา ก็อาจทำให้สื่อนั้นไม่มีประสิทธิภาพและยังทำให้การสอนนั้นไม่ได้ผลเต็มที่ ดังนั้นครูควรมีความรู้ความเข้าใจในการออกแบบสื่อและการผลิตสื่อด้วย เพื่อให้สื่อนั้นมีประสิทธิภาพในกระบวนการเรียนการสอน <น้ำเงิน>การออกแบบสื่อการสอน เป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญต่อสัมฤทธิผลของแผนการสอนที่วางไว้ ความน่าสนใจและความเข้าใจในบทเรียนเป็นผลมาจากประเภท ลักษณะ และความเหมาะสมของสื่อที่ใช้
การออกแบบสื่อการสอน คือ การวางแผนสร้างสรรค์สื่อการสอนหรือการปรับปรุงสื่อการสอนให้มีประสิทธิภาพและมีสภาพที่ดี โดยอาศัยหลักการทางศิลปะ รู้จักเลือกสื่อและวิธีการทำ เพื่อให้สื่อนั้นมีความสวยงาม มีประโยชน์และมีความเหมาะสมกับสภาพการเรียนการสอน ลักษณะการออกแบบที่ดี (Characteristics of Good Design)
1.ควรเป็นการออกแบบที่เหมาะสมกับความมุ่งหมายของการนำไปใช้
2. ควรเป็นการออกแบบที่มีลักษณะง่ายต่อการมำความเข้าใจ การนำไปใช้งานและกระบวนการผลิต
3. ควรมีสัดส่วนที่ดีและเหมาะสมตามสภาพการใช้งานของสื่อ
4. ควรมีความกลมกลืนของส่วนประกอบ ตลอดจนสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของการใช้และการผลิตสื่อชนิดนั้น <สีเขียว>ปัจจัยพื้นฐานของการออกแบบสื่อการสอน <สีน้ำเงิน>
1.เป้าหมายของการเรียนการสอน เป็นสิ่งที่กำหรดพฤติกรรมขั้นสุดท้ายของผู้เรียนว่าจะมีลักษณะเช่นไร โดยทั่วไปนิยมกำหนดพฤติกรรมที่เป็นเป้าหมายของการเรียนการสอนไว้เป็น 3 ลักษณะ คือ
1.1 พฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain)เป็นพฤติกรรมที่แสดงว่าได้เกิดปัญญาความรู้ในเนื้อหาวิชานั้น ๆ แล้ว สามารถที่จะบอก อธิบาย วิเคราะห์ สังเคราะห์ หรือแก้ปัญหาเกี่ยวกับเนื้อหาความรู้นั้นได้
1.2 พฤติกรรมด้านทักษะพิสัย (Pyschomotor Domain) เป็นพฤติกรรมด้านทักษะของร่างกายในการเคลื่อนไหว ลงมือทำงาน หรือความว่องไวในการแก้ปัญหา
1.3 พฤติกรรมด้านเจตตพิสัย (Affective Domain) เป็นพฤติกรรมที่แสดงถึงความรู้สึกด้านอารมณ์ที่มีต่อสิ่งที่เรียนรู้และสภาพแวดล้อม ในการเรียนการสอนครั้งหนึ่ง ๆ ย่อมประกอบด้วยพฤติกรรมที่เป็นเป้าหมายหลายประการด้วยกัน สื่อการสอนที่จะนำมาใช้ หากจะต้องสนองต่อทุกพฤติกรรมแล้ว ย่อมมีลักษณะสับสนหรือซับซ้อน ในการออกแบบสื่อการสอน จึงต้องพิจารณาเลือกเฉพาะพฤติกรรมที่เป็นจุดเด่นของการเรียนการสอนนั้นมาเป็นพื้นฐานของการพิจารณาสื่อ
2. ลักษณะของผู้เรียน เนื้อหาและรายละเอรียนของื่อชนิดหนึ่ง ๆ ย่อมแปรตามอายุ และความรู้พื้นฐานของผู้เรียน แต่โดยสภาพความเป็นจริงแล้ว ผู้เรียนแต่ละคนย่อมมีความแตกต่างกัน หากจะนำมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาสื่อย่อมทำไม่ได้ ในทางปฎิบัติจึงใช้ลักษณะของผู้เรียนในกลุ่มหลัก เป็นพื้นฐานของการพิจารณาสื่อก่อน หากจำเป็นจึงค่อยพิจารณาสื่อเฉพาะสำหรับผู้เรียนในกลุ่มพิเศษต่อไป
3. ลักษณะแวดล้อมของการผลิตสื่อ ได้แก่ ก. ลักษณะกิจกรรมการเรียน ซึ่งครูอาจจัดได้หลายรูปแบบ เช่น -การสอนกลุ่มใหญ่ ในลักษณะของการบรรยาย การสาธิต -การสอนกลุ่มเล็ก -การสอนเป็นรายบุคคล กิจกรรมการเรียนการสอนแต่ละลักษณะย่อมต้องการสื่อต่างประเภท ต่างขนาด เช่น สื่อประเภทสไลด์ ภาพยนต์มีความเหมาะสมกัยการเรียนในลักษณะกลุ่มใหญ่ วีดีโอ ภาพขนาดกลาง เหมาะกับการสอนกลุ่มเล้ก ส่วนสื่อสำหรับรายบุคคลจะต้องในลักษณะเฉพาะตัวที่จะเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้ และวัดผลด้วยตนเอง ข. สิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้สื่อ ได้แก่ไฟฟ้าเป็นองค์ประกอบสำคัญการออกแบบสื่อสำหรับโรงเรียน หรือท้องถิ่นที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ ย่อมต้องหลีกเลี่ยงสื่อวัสดุฉาย ค. วัสดุพื้นบ้าน หรือวัสดุท้องถิ่น นากจากจะหาใช้ได้ง่ายแล้วยังจะช่วยให้ผู้เรียนได้มองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งที่เรียนรู้กับสภาพจริงในชีวิตประจำวันได้ดีกว่าอีกด้วย ดังรั้นสื่อเพื่อการสอนบรรลุเป้าหมายเดียวกีน อาจจะมีลักษณะแตกต่างกันตามสภาพของวัสดุพื้นบ้าน
4. ลักษณะของสื่อ ในการออกแบบและผลิตสื่อ จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ผลิตต้องมีความรู้เกี่ยวกับสื่อในเรื่องต่อไปนี้ ก. ลักษณะเฉพาะตัวของสื่อ สื่อบางชนิดมีตวามเหมาะสมกับผู้เรียนบางระดับ หรือเหทมาะกับจำนวนผู้เรียนที่แตกต่างกัน เช่น แผนภาพจะใช้กับผู้เรียนที่มีพื้นฐานหรือประสบการณ์ในเรื่องนั้น ๆ มาก่อน ภาพการ์ตูนเหมาะสมกับเด็กประถมศึกษา ภาพยนต์เหมาะกับผู้เรียนที่เป็นกลุ่มใหญ่ วิทยุเหมาะกับการสอนมวลชน ฯลฯ ข. ขนาดมาตรฐานของสื่อ แม้ว่ายังไม่มีการกำหนดเป็นตัวเลขที่แน่นอน แต่ก็ถือเอาขนาดขั้นต่ำที่สามารถจะมองเห็นได้ชัดเจน และทั่วถึงเป็นเกณฑ์ในการผลิตสื่อ ส่วนสื่อวัสดุฉายจะต้องได้รับการเตรียมต้นฉบับให้พอดีที่จะไม่เกิดปัญหาในขณะถ่ายทำหรือมองเห็นรายละเอียดภายในชัดเจน เมื่อถ่ายทำขึ้นเป็นสื่อแล้ว การกำหนดขนาดของต้นฉบับให้ถทอหลัก 3 ประการ ต่อไปนี้ คือ-การวาดภาพและการเขียนตัวหนังสือได้สะดวก-การเก็บรักษาต้นฉบับทำได้สะดวก-สัดส่วนของความกว้างยาวเป็นไปตามชนิดของวัสดุฉายองค์ประกอบของการออกแบบ<น้ำเงิน>
1. จุด ( Dots )
2. เส้น ( Line )
3. รูปร่าง รูปทรง ( Shape- Form )
4. ปริมาตร ( Volume )
5. ลักษณะพื้นผิว ( Texture )
6.บริเวณว่าง ( Space )
7. สี ( Color )
8. น้ำหนักสื่อ ( Value )
....การเลือกสื่อ การดัดแปลง และการออกแบบสื่อ (Select , Modify , or Design Materials ) การเลือกสื่อที่เหมาะสมนั้นต้องพิจารณาตามหลัก 3 ประการ คือ
1. การเลือกสื่อที่มีอยู่แล้ว ส่วนใหญ่ในสถาบันการศึกษามักจะมีทรัพยากรที่สามารถใช้เป็นสื่อได้อยู่แล้ว ดังนั้น สิ่งที่ผู้สอนต้องกระทำก็คือ ตรวจสอบดูว่ามีสิ่งใดที่จะใช้เป็นสื่อได้บ้าง โดยเลือกให้ตรงกับลักษณะผู้เรียนและวัตถุประสงค์
2. การดัดแปลงสื่อที่มีอยู่แล้ว ให้ใช้ได้ดีและเหมาะสมมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ย่อมขึ้นกับเวลาและงบประมาณในการดัดแปลงสื่อด้วย
3. การออกแบบผลิตสื่อใหม่ ถ้าสื่อนั้นมีอยู่แล้วและตรงกับจุดมุ่งหมายของการเรียนการ สอน เราก็สามารถนำมาใช้ได้เลยแต่ถ้ามีอยู่โดยไม่ตรงกับจุดมุ่งหมายเราก็ใช้วิธีดัดแปลงได้ แต่ถ้าไม่มีสื่อตามที่ต้องการก็ต้องผลิตสื่อใหม่ การออกแบบผลิตสื่อใหม่ ควรคำนึงถึง
1. จุดมุ่งหมาย ต้องพิจารณาว่าต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนอะไร
2. ผู้เรียน ควรได้พิจารณาผู้เรียนทั้งโดยรวมว่าเป็นใคร มีความรู้พื้นฐานและทักษะอะไรมาก่อน
3. ค่าใช้จ่าย มีงบประมาณเพียงพอหรือไม่
4. ความเชี่ยวชาญด้านเทคนิค ถ้าตนเองไม่มีทักษะจะหาผู้เชี่ยวชาญแต่ละด้านมาจากแหล่งใด
5. เครื่องมืออุปกรณ์ มีเครื่องมืออุปกรณ์ที่จำเป็นพอเพียงต่อการผลิตหรือไม่
6. สิ่งอำนวยความสะดวก มีอยู่แล้วหรือสามารถจะจัดหาอย่างไร
7. เวลา มีเวลาพอสำหรับการออกแบบหรือไม่ การวัดผลของสื่อและวิธีการ หลังจากที่เราออกแบบสื่อแล้วแล้วนำมาใช้ในกระบวนการเรียนการสอน ก็ควรมีการวัดผลของสื่อ เป็นการวัดประสิทธิภาพของสื่อ ความคุ้มค่าของสื่อต่อผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ วัดเพื่อปรับปรุงสื่อวัดผลถึงระยะเวลาที่ในการนำเสนอสื่อว่าพอเหมาะหรือมากเกินความจำเป็น การวัดผลสื่อนี้เพื่อผลในการใช้ดัดแปลงปรับปรุงให้ดีขึ้นสำหรับการนำไปใช้ในอนาคต เราสามารถที่จะนำเอาผลการอภิปรายในชั้นเรียน การสัมภาษณ์ และการสังเกตผู้เรียนมาใช้เป็นแนวทางในการวัดผลสื่อได้
หลักการใช้สื่อการสอน
การที่ผู้สอนจะนำสื่อการสอนมาใช้ในการเรียนการสอน เพื่อจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพตามวัตถุประสงค์นั้น มีหลักการที่ผู้สอนควรมีความเข้าใจในการใช้สื่อการสอน ซึ่งแบ่งหลักการออกเป็น 4 ขั้นตอนตามช่วงเวลาของการใช้สื่อการสอนดังนี้
1. การวางแผน (Planning)การใช้สื่อการสอนต้องมีการวางแผน โดยในขั้นของการวางแผนคือการพิจารณาว่าจะเลือกใช้สื่อใดในการเรียนการสอน ซึ่งรายละเอียดของการเลือกใช้สื่อการสอนได้กล่าวไว้ในหัวข้อหลักการเลือกใช้สื่อการสอน อย่างไรก็ตามการวางแผนเป็นขั้นตอนแรก และเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญมาก ผู้ใช้สื่อการสอนควรเลือกใช้สื่อการสอนโดยพิจารณาจากปัจจัยที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน หากการวางแผนผิดพลาด ก็จะทำให้การใช้สื่อการสอนล้มเหลวตั้งแต่ยังไม่ได้ปฏิบัติการใช้สื่อการสอนเลย
2. การเตรียมการ (Preparation)เมื่อได้วางแผนเลือกใช้สื่อการสอนแล้ว ขั้นต่อมาคือการเตรียมการสิ่งต่างๆ เพื่อให้การใช้สื่อการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและตรงตามวัตถุประสงค์ ก่อนใช้สื่อการสอน ผู้ใช้ควรเตรียมความพร้อมในสิ่งต่างๆ ดังนี้
2.1 การเตรียมความพร้อมของผู้สอนเพื่อให้ภาพของผู้สอนในการใช้สื่อการสอนเป็นไปอย่างดีและราบรื่น เป็นที่ประทับใจต่อผู้เรียน และสำคัญที่สุดคือ การสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้สอน ดังนั้นผู้สอนควรมีการเตรียมพร้อมในการใช้สื่อการสอน เช่น การเตรียมบทบรรยายประกอบสื่อ การจัดลำดับการใช้สื่อ การตรวจเช็คสภาพหรือทดลองสื่อก่อนการใช้งานจริง
2.2 การเตรียมความพร้อมให้ผู้เรียนก่อนใช้สื่อการสอน ผู้สอนควรทำความเข้าใจกับผู้เรียนถึงกิจกรรมการเรียน และลักษณะการใช้สื่อการสอน ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนทราบบทบาทของตน และเตรียมตัวที่จะมีส่วนร่วมกับกิจกรรมหรือตอบสนองต่อสื่อ
2.3 การเตรียมความพร้อมของสื่อและอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ใช้ร่วมกันสื่อการสอนบางอย่างต้องใช้ร่วมกับอุปกรณ์หรือเครื่องมืออื่นด้วย ดังนั้น ผู้ใช้สื่อ ควรทดสอบการใช้สื่อก่อนใช้งานจริง เช่น การตรวจสอบแหล่งจ่ายกระแสไฟฟ้า การตรวจสอบการเสียบปลั๊กหรือสายไฟต่างๆ เป็นต้น
2.4 การเตรียมความพร้อมของสภาพแวดล้อมและห้องสอนสื่อแต่ละอย่างเหมาะสมที่จะใช้กับสภาพห้องหรือสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันไป เช่น ขนาดของห้องเรียนควรเหมาะสมกับสื่อที่ใช้ สภาพของแสงหรือเสียงก็ควรจัดให้เหมาะสมเช่นกัน
3. การนำเสนอสื่อ (Presentation)ในช่วงการนำเสนอเนื้อหาบทเรียน อาจแบ่งช่วงเวลาออกได้เป็น 3 ช่วง ได้แก่ ช่วงนำเข้าสู่บทเรียน ช่วงสอนเนื้อหาบทเรียน และช่วงสรุป ในทุกช่วงเวลาสามารถนำสื่อการสอนเข้ามาใช้อำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนเกิดการรับรู้หรือการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เลือกใช้สื่อการสอนควรมีความเข้าใจว่าสื่อการสอนที่นำมาใช้ในแต่ละช่วงเวลาใช้เพื่อวัตถุประสงค์ใด
1. ช่วงนำเข้าสู่บทเรียนการใช้สื่อการสอนช่วงนำเข้าสู่บทเรียน เป็นการใช้สื่อเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับผู้เรียนในการที่จะเริ่มต้นเรียน และเพื่อสร้างความน่าสนใจให้แก่บทเรียน
2. ช่วงสอนเนื้อหาบทเรียนการใช้สื่อการสอนในช่วงสอนเนื้อหาบทเรียน เป็นการใช้สื่อเพื่อถ่ายทอดสาระ ความรู้ หรือเนื้อหาบทเรียนให้แก่ผู้เรียน เพื่อสร้างให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างถูกต้องและครบถ้วนตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
3. ช่วงสรุปบทเรียนในช่วงสุดท้ายของการสอน ควรมีการใช้สื่อการสอนเพื่อสรุปเนื้อหาที่สำคัญของบทเรียน เพื่อช่วยผู้เรียนในการสรุปสาระที่ควรจำ หรือเพื่อช่วยโยงไปสู่เนอกจากการใช้สื่อการสอนให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของช่วงการนำเสนอแล้ว ในขณะที่ใช้สื่อยังมีหลักการที่ควรปฏิบัติดังนี้
1..ใช้สื่อการสอนตามลำดับที่วางแผนไว้ หากพบปัญหาเฉพาะหน้าควรแก้ไขลำดับการนำเสนอในภาพรวมให้มีการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด
2..ควบคุมเวลาการใช้สื่อให้เป็นไปตามแผนที่วางอย่างไว้อย่างดีแล้ว คือใช้เวลาให้เหมาะสมกับเนื้อหา ไม่นำเสนอเร็วหรือช้าเกินไป
3..ไม่ควรให้ผู้เรียนเห็นสื่อก่อนการใช้ เพราะอาจทำให้ผู้เรียนหมดความตื่นเต้นหรือหมดความน่าสนใจ หรือไม่ควรนำเสนอสื่อหลาย ๆ อย่างในเวลาเดียวกัน เพราะสื่อหนึ่งอาจแย่งความสนใจจากอีกสื่อหนึ่ง หรืออาจทำให้ผู้เรียนสับสน หรืออาจมีปัญหาในเรื่องการรับรู้ของผู้เรียนที่ไม่สามารถรับรู้ได้พร้อมๆ กัน
4.ทำกิจกรรมต่าง ๆ ประกอบการใช้สื่อการสอนตามขั้นตอนที่วางแผนไว้ เช่น การระดมสมอง การตั้งคำถาม การอภิปราย เป็นต้น
5.การนำเสนอควรมีจุดเน้นและอธิบายรายละเอียดในส่วนที่สำคัญ ในขณะนำเสนอ โดยเฉพาะจุดที่ผู้เรียนไม่เข้าใจและสับสน
6.การนำเสนอด้วยสื่อควรออกแบบให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับการนำเสนอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปฏิสัมพันธ์ด้านการใช้ความคิด ผู้เรียนควรมีโอกาสมีส่วนร่วมกับกิจกรรมหรือการใช้สื่ออย่างทั่วถึง
4.การติดตามผล (Follow - up)ภายหลังการใช้สื่อการสอนแล้ว ผู้สอนควรทำการซักถาม ตอบคำถามผู้เรียน หรืออภิปรายเกี่ยวกับเนื้อหาของสื่อที่ได้นำเสนอไปแล้ว เพื่อสรุปถึงประสบการณ์ที่ผู้เรียนได้รับ และเพื่อทำการประเมินผู้เรียนว่ามีความเข้าใจบทเรียนเพียงใด และเพื่อประเมินประสิทธิภาพของสื่อการสอน ตลอดจนวิธีการใช้สื่อการสอนของครูว่า มีข้อดี ข้อบกพร่องหรือสิ่งที่ควรแก้ไขต่อไปอย่างไรบ้าง
ความหมายของการประเมินผลสื่อการสอนปัจจุบันสื่อการสอนมีบทบาทในกระบวนการเรียนการสอนเพิ่มมากขึ้น และเป็นปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่งที่สนับสนุนให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีคุณภาพ และรวดเร็ว ตามหลักการแล้ว ก่อนที่จะนำสื่อการสอน ไปใช้งาน สื่อการสอนทุกชิ้น จะต้องได้รับการประเมินผล และปรับปรุงจนมีมาตรฐานตามเกณฑ์ที่กำหนด ทั้งนี้เพื่อเป็นการประกันและให้ความมั่นใจแก่ผู้ใช้สื่อการสอนนั้นๆ ว่าเป็นสื่อการสอนที่มีคุณภาพ และมีศักยภาพที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ตามวัตถุประสงค์ แต่อย่างไรก็ตามยังมีสื่อการสอนจำนวนมากที่ถูกนำมาใช้ในปัจุบัน ซึ่งเป็นสื่อการสอนที่ไม่ได้รับการประเมินผล การประเมินผลสื่อการสอน หมายถึง การนำข้อมูลหรือผลจากการวัดผลสื่อการสอนมาตีความหมาย (Interpretation) และตัดสินคุณค่า (Value Judgement) เพื่อที่จะบอกว่า สื่อการสอนนั้นทำหน้าที่ได้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ได้เพียงใด มีคุณภาพเป็นเช่นใด มีลักษณะถูกต้องตรงตามที่ต้องการหรือไม่ (วชิราพร, 2545)ถ้าจะทำการประเมินผลสื่อการสอน ต้องมีข้อมูลเพื่อการตีความและการตัดสินคุณค่า ซึ่งข้อมูลดังกล่าวส่วนหนึ่งได้มาจากการวัดผลสื่อการสอน การวัดผล (Measurement) หมายถึง การกำหนดตัวเลขหรือสัญลักษณ์ให้กับสิ่งที่ถูกวัด ซึ่งในกรณีนี้คือสื่อการสอน ตัวเลขหรือสัญลักษณ์ที่กำหนดขึ้นนี้จะแสดงแทนศักยภาพของสื่อการสอนในด้านต่างๆ ดังนั้นการวัดผลสื่อการสอนจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการประเมินผลสื่อการสอน เพราะเป็นข้อมูลเบื้องต้นที่จะถูกนำไปใช้ในการประเมินผลสื่อการสอน การวัดผลสื่อการสอนจะต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบ มีหลักการและเหตุผลรองรับตามหลักวิชาการ เพื่อที่จะได้ข้อมูลการวัดผลที่มีความเที่ยง และความตรง เป็นข้อมูลที่สามารถสะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพที่แท้จริงของสื่อการสอนนั้นได้อย่างถูกต้องและตรงตามความเป็นจริง ความสำคัญของการประเมินผลสื่อการสอน
การประเมินผลสื่อการสอนมีความสำคัญต่อการเรียนการสอนหลายประการดังนี้
1.ได้ข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้เรียน และคุณภาพของการเรียนการสอนในการประเมินผลสื่อการสอนจะมีส่วนของการตรวจสอบการเกิดการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมาก การใช้สื่อการสอนเป็นการอำนวยความสะดวกและนำทางให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ การประเมินผลสื่อการสอนเป็นกระบวนการสำคัญที่จะทำให้ได้ข้อมูลเพื่อยืนยันว่า ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์หรือไม่ อย่างไร เพียงใด หากไม่ทำการประเมินผลสื่อการสอน เราก็จะไม่มั่นใจว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และไม่สามารถบอกได้ว่าการเรียนการสอนนั้นๆ ประสบผลสำเร็จหรือไม่ อย่างไร ข้อมูลที่ได้จากการประเมินสื่อการสอนในแง่มุมเหล่านี้จะบ่งบอกถึงคุณภาพของการเรียนการสอนได้
2.ได้ข้อมูลเกี่ยวกับคุณลักษณะและคุณภาพของสื่อการสอนการประเมินผลสื่อการสอนจะทำให้ได้ข้อมูลว่า สื่อได้รับการออกแบบมาอย่างถูกต้องและเหมาะสมหรือไม่ ในกระบวนการของการผลิตทำให้ได้สื่อการสอนตามที่ออกแบบไว้หรือเป็นตามที่ต้องการหรือไม่ และเมื่อนำสื่อการสอนที่ผลิตแล้วมาใช้งาน สามารถใช้งานได้จริงตามที่ออกแบบหรือที่คาดหวังไว้หรือไม่ ข้อมูลเหล่านี้จะบ่งบอกถึงคุณลักษณะและคุณภาพของสื่อการสอน ว่ามีความเหมาะสม ถูกต้อง หรือสมบูรณ์เพียงพอที่จะนำไปใช้ในการเรียนการสอนได้หรือไม่
3.เกิดการพัฒนาการใช้สื่อการสอนให้มีประสิทธิภาพและมีคุณภาพมากยิ่งขึ้นการประเมินผลสื่อการสอนในแต่ละบริบท โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรูปแบบของการทำวิจัยหรือการพัฒนา จะทำให้ได้ข้อมูลซึ่งบางครั้งเป็นองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับการใช้สื่อการสอน ทำให้ได้ข้อมูลที่เป็นแนวทาง เป็นวิธีการ หรือเป็นรูปแบบใหม่ของสื่อการสอนหรือการใช้สื่อการสอน ซึ่งจะทำให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อันจะส่งผลดีต่อผู้เรียน ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง และมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
4.สร้างความมั่นใจและอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ในการเลือกใช้สื่อการสอนสื่อการสอนที่ได้รับการประเมินผลแแล้วจะมีข้อมูลเกี่ยวกับคุณลักษณะของสื่อและสถานการณ์ที่เหมาะสมจะนำสื่อการสอนนั้นๆ ไปใช้งาน ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้ที่นำสื่อการสอนไปใช้ ตลอดจนอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ในการตัดสินใจเลือกนำสื่อการสอนแบบต่างๆ ไปใช้งานประเด็นการประเมินผลสื่อการสอนในการประเมินผลสื่อการสอน มีสิ่งสำคัญที่ควรทำการประเมิน 3 สิ่ง คือ การวางแผนการใช้สื่อการสอน การนำเสนอหรือการใช้สื่อการสอน และผลของการใช้สื่อการสอนที่เกิดกับผู้เรียน ซึ่งแต่ละอย่างมีรายละเอียดดังนี้ (กิดานันท์, 2540: 96)
1.การประเมินผลการวางแผนการใช้สื่อการสอนเป็นการพิจารณาว่า เมื่อนำสื่อการสอนไปใช้จริง ในภาพรวมมีสิ่งใดบ้างที่เป็นไปตามแผนหรือไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้หรือไม่ อย่างไร เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น การเก็บรวบรวมข้อมูลในส่วนนี้เพื่อเป็นการพิจารณาในภาพรวมหมดทั้งระบบของการใช้สื่อการสอน ทั้งนี้เพื่อนำผลการประเมินไปใช้ปรับปรุงการวางแผนการใช้สื่อการสอนในภาพรวมครั้งต่อไป ให้การใช้สื่อการสอนเกิดความสอดคล้องและบรรลุตามวัตถุประสงค์ของการใช้ ข้อมูลที่ได้จะสะท้อนให้เห็นข้อดีหรือข้อบกพร่องของแต่ละขั้นตอนของการวางแผนการใช้สื่อการสอน ว่าได้มีการนำปัจจัยที่เกี่ยวข้องทั้งหมดมาพิจารณาในขั้นการวางแผนอย่างครบถ้วนหรือไม่ หรือสิ่งที่นำมาพิจารณานั้นถูกต้องหรือไม่
2.การประเมินผลกระบวนการของการใช้สื่อการสอนเป็นการพิจารณาเฉพาะในขั้นตอนของการนำสื่อการสอนไปใช้เพื่อนำเสนอเนื้อหาหรือให้ประสบการณ์ต่างๆ เกี่ยวกับเนื้อหาของบทเรียน โดยพิจารณาในแต่ละช่วงของการใช้สื่อการสอนนั้นประสบผลสำเร็จ หรือประสบปัญหาใดหรือไม่ ตัวอย่างเช่น ผู้เรียนได้ยินเสียงของสื่ออย่างชัดเจนทั่วถึงหรือไม่ ภาพมีขนาดใหญ่เพียงพอที่จะมองเห็นได้อย่างชัดเจนจากตำแหน่งที่นั่งของผู้เรียนทุกคนหรือไม่ ผู้เรียนมีระดับความสามารถในการอ่านเพียงพอที่จะอ่านข้อความที่นำเสนอในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนได้หรือไม่ เป็นต้น
3.การประเมินผลสิ่งที่เกิดจากการใช้สื่อการสอนเป็นการพิจารณาถึงสิ่งที่เกิดขึ้นต่อผู้เรียนหลังจากการใช้สื่อการสอน โดยมีเป้าหมายสำคัญที่จะประเมินว่า ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ตามวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนหรือไม่ ซึ่งส่วนมากวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนมักจะเขียนไว้ในรูปแบบของวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม การประเมินผลสื่อการสอนในกรณีนี้จะเป็นการประเมินว่าผู้เรียนมีพฤติกรรมเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาใช้เพื่อการประเมินผลการใช้สื่อการสอนวิธีการที่นำมาใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการประเมินผลสื่อการสอนนั้นมีหลากหลาย วิธีการที่นิยมใช้ เช่น การอภิปรายในชั้นเรียน การสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์ การประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ และการทดลองก. การอภิปรายในชั้นเรียน เป็นกิจกรรมที่ทำหลังจากที่กระบวนการเรียนการสอนได้เสร็จสิ้นแล้ว ผู้สอนและผู้เรียนอาจร่วมกันอภิปรายแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสื่อการสอนที่ใช้โดยเฉพาะ จะได้ข้อมูลที่เป็นผลย้อนกลับไปสู่การประเมินการวางแผนการใช้สื่อการสอน และกระบวนการใช้สื่อการสอนข. การสัมภาษณ์ การสัมภาษณ์ในที่นี้อาจเป็นการสัมภาษณ์โดยการสนทนา หรือการใช้แบบสอบถาม เป็นวิธีการที่ค่อนข้างสะดวก และนิยมใช้กันมากค. การสังเกต การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีนี้จะต้องทำในช่วงที่มีการใช้สื่อการสอน และสิ่งสำคัญคือ ผู้สังเกตการณ์ควรจะต้องเป็นผู้ที่มีประสบการณ์หรือมีความชำนาญในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสังเกตง. การประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ สิ่งสำคัญในการเลือกใช้วิธีนี้ในการประเมินสื่อการสอน คือ การเลือกผู้เชี่ยวชาญในการประเมิน ต้องเลือกผู้ที่มีความรู้หรือมีประสบการณ์ในสื่อการสอนสิ่งให้ทำการประเมินจ. การทดลอง เป็นการประเมินผลสื่อการสอนที่ทำในรูปแบบของการวิจัย หากมีการออกแบบรูปแบบการวิจัย (Research Design) มาเป็นอย่างดีข้อมูลการประเมินผลสื่อการสอนด้วยวิธีการนี้มักจะได้รับความน่าเชื่อถือมากที่สุด เพราะมีการดำเนินงานเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์บพร่อง หรือสิ่งที่ควรแก้ไขต่อไปอย่างไรบ้าง
http://sps.lpru.ac.th/script/show_article.pl?mag_id=6&group_id=25&article_id=281

การออกแบบสื่อวัสดุกราฟิก

ความหมายของวัสดุกราฟิก
วัสดุกราฟิค ประกอบด้วยคำ 2 คำ คือ วัสดุ + กราฟิก
วัสดุ หมายถึงสิ่งของที่มีอายุการใช้งานระยะสั้น
กราฟิก หมายถึงการแสดงด้วยลายเส้น
วัสดุกราฟิก หมายถึง วัสดุลายเส้นประกอบด้วย ภาพลายเส้น ตัวอักษร การ์ตูน และสัญลักษณ์ เพื่อเสนอเรื่องราวความรู้ หรือเนื้อหาสาระให้รับรู้และเข้าใจได้ง่ายรวดเร็ว
ประเภทของวัสดุกราฟิก
วัสดุกราฟิกมีหลายประเภทซึ่งสามารถจำแนกออกได้ตามแนวคิดของ วิททิช และชูลเลอร์ ซึ่งได้แบ่งวัสดุกราฟิกไว้เป็น 8 ประเภทดังนี้
แผนภูมิ (Chart)
แผนภาพ (Diagrams)
แผนสถิติ (Graphs)
ภาพโฆษณา (Posters)
การ์ตูน (Cartoons)
แผนที่และลูกโลก (Maps and Globe)
สัญลักษณ์ (Symbol)
รูปภาพ (Photographic)
.....ตัวอย่างวัสดุกราฟิก 5 ชิ้น
การ์ตูน(Cartoons) เป็นภาพสัญลักษณ์ที่ใช้แทนสิ่งต่างๆ เช่น บุคคล สัตว์ หรือสิ่งของ เป็นต้น เพื่อถ่ายทอดเรื่องราว ซึ่งเป็นแนวความคิดหรือทัศนะของผู้เขียน เพื่อจูงใน ให้แนวความคิด สร้างอารมณ์ขัน หรือล้อเลียน

สัญลักษณ์ (Symbol) คือการสื่อความหมายที่ให้มนุษย์ ในสังคมเข้าใจร่วมกัน ในแนวทางเดียวกัน โดยการออกแบบ เป็นรูปลักษณ์ต่าง ๆ ในลักษณะ ภาพลายเส้น การเขียนสัญลักษณ์ อาจใช้วิธีลอกแบบ เลียนแบบจากธรรมชาติ


รูปภาพ(Photographic) เป็นงานกราฟิกประเภทหนึ่ง ที่ต้องอาศัยหลักการทางศิลปะ เช่นเดียวกันประกอบ กับเครื่องมือเพื่อใช้ใน การถ่ายภาพ คือ กล้องถ่ายภาพนั่นเอง กล้องถ่ายภาพในปัจจุบันมีมากมาย หลายรูปแบบ
แผนที่(Maps and Globe) เป็นทัศนวัสดุที่แสดงทิศทาง อาณาเขต ลักษณะภูมิประเทศ และสิ่งต่างๆ บนพื้นโลก โดยใช้ เส้น สี สัญลักษณ์ และการกำหนดมาตราส่วนเพื่อย่นระยะทางและลดขนาดของพื้นที่ให้สามารถสื่อความหมายได้ในที่จำกัด สามารถรับรู้และเข้าใจได้ง่ายในเวลารวดเร็ว

แผนภูมิแบบวิวัฒนาการ
แสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ ต่อเนื่องกันเป็นลำดับ แต่ไม่ย้อนกลับมาที่จุดเริ่มต้นอีก
ความสำคัญของการออกแบบการออกแบบ มีอิทธิพลต่อการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของมนุษย์เรา เกี่ยวข้องกับ ทุกระดับอายุ ทุกเพศ ทุกอาชีพ ทุกคนมีความรักสวย รักงาม ดังสุภาษิตไทยที่ว่า " ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง " เช่น การแต่งกายที่แต่ละคนต่างล้วนเลือกสรรและเลือกอย่างรอบคอบให้เข้ากับบุคลิคและสรีระของตน เริ่มตั้งแต่ ลวดลาย สีเสื้อผ้าจะต้องกลมกลืนเข้ากัน มีผลต่อความสูง ความอ้วน เช่น คนตัวเตี้ยควรจะใส่เสื้อลายเส้นตรงแนวดิ่งที่มีหลายเส้น ส่วนคนอ้วนควรเลือกลายเส้นตรงแนวดิ่งที่มีสามสี่เส้น เน้นสีสดอยู่ส่วนที่เป็นแถบกลางตัว สีเข้มมืดๆอยูแถบข้างลำตัวทั้งสองข้าง เป็นต้น รวมไปถึงเครื่องประดับต่างๆ เช่น แหวน นาฬิกา สร้อยคอ เข็มกลัดติดเสื้อ จนถึงแว่นตา ต้องมีการออกแบบเพื่อให้ถูกใจเหมาะสมผู้ใช้ทั้งสิ้น ถ้ามองไปถึงเก้าอี้นั่ง รูปทรงแบบใดเหมาะกับงานชนิดใด สถานที่ใด เช่น ใช้กับโต๊ะทำงานปกติ ใช้กับโต๊ะคอมพิวเตอร์ ติดตั้งบนรถเก๋ง รถโดยสาร รถไฟฟ้า หรือในโรงภาพยนตร์ การเลือกซื้อรถยนต์ เกินกว่า 70 % เลือกที่รูปทรงและสีของรถ แม้แต่เม็ดยาที่เรากินรักษาโรค ยังต้องออกแบบให้มีสีน่ากิน เคลือบรสหวาน รูปทรงกลม มน กลืนง่าย เป็นต้นมนุษย์เราให้ความสำคัญในด้านการออกแบบมาก จะเห็นได้ว่าการออกแบบศิลปะนั้นเป็นสิ่งที่ควบคู่อยู่กับความสุนทรียะของมนุษย์ตลอดมา

» หลักการออกแบบกราฟิก
» องค์ประกอบในการออกแบบ
» การผลิตวัสดุกราฟิก
» การใช้วัสดุกราฟิกประกอบการสอน
» การจัดองค์ประกอบ
หลักการออกแบบกราฟิก THE PRINCIPLE OF GRAPHIC DESIGN ก่อนที่จะทำงานออกแบบกราฟิกประเภทใดก็ตาม สิ่งแรกที่ต้องคำนึงถึงคือ การกำหนดจุดประสงค์ที่ชัดเจนของงาน เพราะช่องทาง รูปแบบและวิธีการ ของการนำเสนอมีมาก มีความรวดเร็ว ไร้ขอบเขต เช่นใน เว็ปไซต์ เครือข่ายอินเตอร์เน็ตต่างๆ ซึ่งต้องมีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงให้ทันเหตุการณ์ อาจจะทำให้เกิดความสับสน ยุ่งยากในการดำเนินงาน มีผลกระทบต่อการทำงาน เกิดความไม่เป็นระบบ มีการสูญเสียและสิ้นเปลืองโดยไม่จำเป็น ดังนั้นผู้ออกแบบจึงควรมีหลักการและข้อควรคำนึงก่อนการเริ่มงานเพื่อการแก้ปัญหาที่ถูกต้อง รัดกุมและวางแผนการดำเนินงานให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีตลอดจนจบกระบวนการ ไม่มีปัญหาและอุปสรรค หลักการดำเนินงานออกแบบกราฟิกหลักการดำเนินงานและการวางแผนขั้นต้นของการออกแบบกราฟฟิกมีดังนี้
วัตถุประสงค์เพื่ออะไร ผู้ออกแบบต้องรู้ว่า จะบอกกล่าว เรื่องราวข่าวสารอะไรแก่ผู้รับรู้บ้าง เช่น ทฤษฎีหรือหลักการ การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ฯลฯ ผู้ออกแบบต้องรู้วิธีการนำเสนอ (Presentation) ที่ดีและเหมาะสมกับเรื่องราวเหล่านั้นว่ามีเป้าหมายของการออกแบบเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ใด เช่น เพื่อแนะนำ เผยแพร่ เพื่อให้ความรู้ หรือความบันเทิงเป็นต้น
กลุ่มเป้าหมายเป็นใคร แบ่งเป็นเพศ ชาย หญิง ่หรือบุคคลทั่วไป มีช่วงอายุเท่าใด นิสิตนักศึกษาหรือเฉพาะกลุ่มสนใจ ข่าวสารที่ให้มีระดับความยาก-ง่าย หรือมีความเป็นสากลหรือไม่ เฉพาะคนในประเทศหรือชาวต่างชาติ ซึ่งผู้ออกแบบจำเป็นจะต้องรู้และเข้าใจเพื่อวางแผน ดำเนินการกับข่าวสาร ออกแบบ และการนำเสนอให้ตสิ่งที่ต้องการบอกคืออะไร หมายถึง วิธีการที่จะสื่อความหมายกับผู้รับรู้หรือกลุ่มเป้าหมาย และถ้าที่มีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายไว้ล่วงหน้า ชัดเจนแล้วก็จะทำให้ผู้ออกแบบมีความสะดวกในการที่จะบอกหรือสื่อความหมายได้ง่ายขึ้น เช่น การเลือกใช้สัญลักษณ์ เครื่องหมาย และภาพประกอบต่าง ๆ
นำเสนอข่าวสารด้วยสื่อใด แบบใด ผู้ออกแบบต้องมีความรู้เกี่ยวกับประเภทของสื่อ ศักยภาพของสื่อชนิดต่างๆ คำนึงถึงการเลือกใช้สื่อในการนำเสนอข่าวสารเป็นรูปแบบใด จึงจะได้ผลดีมีความเหมาะสมกับข่าวสาร และผู้ออกแบบควรจะใช้วิธีการจัดการกับข่าวสารนั้น อย่างไร
การออกแบบกราฟิก ส่วนใหญ่เป็นวิธีการที่เกี่ยวข้องกับการแสดงออกถึงการสื่อความหมายในลักษณะของตัวอักษรและภาพในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งเป็นการสื่อสารทางทัศนสัญลักษณ์ (Visual form) ดังนั้นในการออกแบบจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องมีการเรียนรู้เกี่ยว การมองเห็นและจิตวิทยาที่เกี่ยวข้อง
ปัจจุบันวัสดุและเครื่องมือในงานกราฟิก มีการพัฒนาและปรับใช้กับคอมพิวเตอร์มากขึ้น และคอมพิวเตอร์ในหลายโปรแกรม โดยเฉพาะโปรแกรมด้านกราฟิก ก็จะมีแถบเครื่องมือมาให้เลือกใช้ เหมือนกับวัสดุหรืออุปกรณ์ที่ต้องทำด้วยมือ เช่น มีดินสอ ปากกา พู่กัน สีสเปรย์เหมือนปากกาลม เปลี่ยนขนาดความโตได้หลายขนาด มีถังเทสี เป็นต้น
http://www.edu.nu.ac.th/wbi/355201/graphic_material/graphic_material.htm

สื่อวัสดุกราฟิก"สีไม้"

....ประวัติความเป็นมา
....งานกราฟิก

มีประวัติความเป็นมาตามหลักฐานในอดีต เมื่อมนุษย์เริ่มรู้จักการขีดเขียน ขูด จารึกเป็นร่องรอย ให้ปรากฏเป็นหลักฐานในปัจจุบัน การออกแบบกราฟิกสมัยก่อนประวัติศาสตร์ จึงเป็นการเริ่มต้นการสื่อความหมายด้วยการวาดเขียน ให้ผู้อ่านตีความหมายได้ เรียกว่า Pictogram เช่นภาพคน ภาพสัตว์ ต้นไม้ ไว้บนผนังหรือบนเพดานถ้ำ และมีการแกะสลักลงบนเขาสัตว์ กระดูกสัตว์ ซึ่งใช้วิธีการวาดอย่างง่ายๆไม่มีรายละเอียดมาก
....การออกแบบกราฟิก
ปัจจุบัน เป็นยุคของอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมและเทคโนโลยี ได้นำเครื่องมือ เครื่องใช้ วัสดุอุปกรณ์ วัสดุสำเร็จรูป มาช่วยในการออกแบบกราฟิกได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ ( Computer Graphics ) มีโปรแกรมด้านการจัดพิมพ์ตัวอักษรที่นิยมกันมากคือ Microsoft Word สามารถจัดเรียง วางรูปแบบ สร้างภาพ กราฟ แผนภูมิ จัดการและสร้างสรรค์ตัวอักษร โปรแกรมอื่นๆที่สนับสนุนงานกราฟิกอีกมากมาย เช่น Adobe Photoshop / Illustrator / PageMaker / CorelDraw / 3D Studio / LightWave 3D / AutoCad ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมที่ช่วยให้สามารถสร้างสรรค์งานกราฟิกบนเว็บ อีกมากเช่น Ulead Cool / Animagic GIF / Banner Maker เป็นต้น
....ความหมาย
" กราฟิก " ( Graphic ) เป็นคำมาจากภาษากรีกว่า Graphikos หมายถึงการเขียนภาพด้วยสีและเขียนภาพขาวดำ และคำว่า " Graphein " มีความหมายทั้งการเขียนด้วยตัวหนังสือและการสื่อความหมายโดยการใช้เส้น เมื่อรวมทั้งคำ Graphikos และ Graphein เข้าด้วยกันวัสดุกราฟิกจะหมายถึงวัสดุใด ๆ ซึ่งแสดงความจริง แสดงความคิดอย่างชัดเจน โดยใช้ภาพวาด ภาพเขียน และอักษรข้อความรวมกัน ภาพวาดอาจจะเป็น แผนภาพ ( Diagram ) ภาพสเก็ต ( Sketch ) หรือแผนสถิติ ( Graph ) หรืออาจเป็นคำที่ใช้เป็นหัวเรื่อง ( Title ) คำอธิบายเพิ่มเติมของแผนภูมิ แผนภาพ แผนสถิติ และภาพโฆษณา อาจวาดเป็นการ์ตูนในรูปแบบหรือประเภทต่างๆ ภาพสเก็ต สัญลักษณ์ และภาพถ่าย สามารถใช้เป็นวัสดุกราฟิกเพื่อสื่อความหมายในเรื่องราวที่แสดงข้อเท็จจริงต่าง ๆได้
.....ประโยชน์ของวัสดุกราฟิก
วัสดุกราฟิกต่าง ๆ ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง ดังต่อไปนี้
1. ใช้เป็นสื่อประกอบการสอนได้ทุกวิชา โดยเลือกใช้ให้เหมาะสมกับเนื้อหาและระดับของผู้เรียน
2. ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจสิ่งนั้น ๆ ได้รวดเร็วกว่าใช้คำพูด ทำให้ประหยัดเวลาในการสอน
3. ทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ มีส่วนร่วมและอยากเรียน
4. ใช้ในการโน้มน้าวจิตใจในเรื่องต่าง ๆ เช่น ภาพโฆษณา การโฆษณาสินค้า
5. ใช้ในการจัดแสดงผลงาน หรือจัดนิทรรศการ
6. ใช้ในด้านเผยแพร่กิจกรรม การประชาสัมพันธ์ของทุกหน่วยงาน
7. ใช้ในการสร้างสรรค์ เปลี่ยนแปลงเจตคติ และสร้างความเข้าใจอันดีภายในและภายนอกองค์กร
.....ดินสอสี (สีไม้)
ใช้สำหรับระบายสีภาพลงบนกระดาษสีขาว เพราะสีของดินสอมีความเข้มน้อย ประกอบกับมีปากขนาดเล็ก จึงเหมาะกับพื้นที่ที่ไม่ใหญ่มากนักมีหลายสี เป็นชุดๆ บางชนิดละลายน้ำได้ โดยใช้พู่กันจุ่มน้ำแล้วไปลูบละเลงบนสีดินสอที่ระบายไว้แล้ว จะได้ภาพที่คล้ายสีน้ำ
http://edtech.edu.ku.ac.th/edtech/wbi/index.php?module=study&chapter=6&sub1=1&sub2=1

การสร้าง blog

การสร้าง blog
...........รู้จักกับ web log หรือ blog เว็บไซต์สายพันธุ์ใหม่ ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อนักท่องเว็บตัวยงโดยเฉพาะไม่ว่าจะเป็นมือใหม่หรือหน้าเก่า พอได้ลองเล่นแล้ว… เลิกไม่ได้แน่นอน!นอกจากนั้นยังมีเบื้องหลังการสร้าง blog ด้วยตัวคุณเองเริ่มต้นอย่างง่ายๆ ขนาดเด็กที่ไหนก็ทำได้ไปจนถึงระดับแอดวานซ์หรูเลิศจนคนเห็นแล้วต้องอิจฉา
ทำความรู้จักกับ blog หรือ web log เว็บไซต์สายพันธุ์ฮิตล่าสุด มาดูกันว่าทำไมเว็บไซต์ส่วนตัวสไตล์ง่ายๆ แบบนี้ถึงมีนักท่องเว็บพากันอ่านและแห่กันทำจนนับได้เป็นแสนไซต์ทั่วโลกภายในเวลา 2-3 ปีเท่านั้น!
เสน่ห์ของ blog อยู่ที่บุคลิก
blog มาจากไหน
กายวิภาค blog
มี blog ไว้ทำไม
เล่น blog ควรระวัง แค่เล่นเน็ตเป็นก็ทำได้
BLOG GUIDE ลองเล่น blog กันดูว่าเว็บไซต์แบบนี้จะสนองตัณหานักท่องเว็บได้ดีแค่ไหน แล้วมาค้นหา blog ที่ถูกใจคุณจากบรรดา blog นานานับรูปแบบใน blogosphere นี้
blog สามแบบครึ่ง
ใช้ Blog ทำอะไรถึงจะโดนใจ
ท่องไปใน blogosphere
ตะแกรงกรองข้อมูลชั้นดี
BLOG GUIDE
การสร้าง blogger เข้าไปที่ http://www.blogger.com/ จะเกิดหน้าต่างขึ้นคลิกที่แถบลูกศรสีส้ม create your blog now

สรุปการเรียน"สื่อการสอน"


"การเล่นเป็นพื้นฐาน .....การเรียน การงาน การสังคม
พัฒนาการอันเหมาะสม .....อีกอารมณ์ช่วยผ่อนคลาย
การเล่นด้วยความรัก .....ใจสมัคร กายสบาย
ดลสุขสุดบรรยาย .....สู่เป้าหมายแห่งชีวิต"

.......สรุป........
........... สื่อเป็นเครื่องที่ช่วยให้เด็กได้พัฒนาการทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา สื่อช่วยให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงโดยผ่านประสาทสัมผัส คือ การสัมผัส การชิม การดม การฟัง และการมอง นอกจากนี้สื่อยังช่วยให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน และบางชนิดยังเปิดโอกาสให้เด็กได้ฝึกคิดสร้างสรรค์ตามจินตนาการอีกด้วย
............การออกแบบสื่อการสอนเป็นการวางแผนสร้างสรรค์สื่อการสอนหรือการปรับปรุงสื่อการสอนให้มีประสิทธิภาพและมีสภาพที่ดี โดยอาศัยหลักการทางศิลปะ รู้จักเลือกสื่อและวิธีการทำ เพื่อให้สื่อนั้นมีความสวยงาม มีประโยชน์และมีความเหมาะสมกับสภาพการเรียนการสอน
............วัสดุกราฟิกเป็นการออกแบบวัสดุลายเส้นประกอบด้วย ภาพลายเส้น ตัวอักษร การ์ตูน และสัญลักษณ์ เพื่อเสนอเรื่องราวความรู้ หรือเนื้อหาสาระให้รับรู้และเข้าใจได้ง่ายรวดเร็ว
............การเรียนPhotoshop เป็นการเรียนตัดแต่งรูปภาพ ให้มีการเปลี่ยนแปลงจากความเป็นจริง การเรียนPhotoshopมีความสำคัญให้เรารู้จักคิดและออกแบบและเกี่ยวกับการใช้สีได้
...........สื่อวัสดุกราฟิก"สีไม้" เป็นสื่อการเรียนการสอนชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญต่อเด็ก สื่อสีไม้นี้เป็นการขีดเขียนลงบนกระดาษตามจินตการของเด็ก ฝึกให้เด็กคิดและออกแบบได้
...........การสร้าง Blog ทำความรู้จักกับ blog หรือ web log เว็บไซต์สายพันธุ์ฮิตล่าสุด มาดูกันว่าทำไมเว็บไซต์ส่วนตัวสไตล์ง่ายๆ แบบนี้ถึงมีนักท่องเว็บพากันอ่านและแห่กันทำจนนับได้เป็นแสนไซต์ทั่วโลกภายในเวลา 2-3 ปีเท่านั้น เป็นการนำข้อมูลของตังเองลงบนบล๊อกหรือสิ่งที่เป็นความรู้หรือมีประโยชน์ต่อผู้เข้ามาเยี่ยมชม
...........เนื้อหาบทเรียน
หน่วยที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสื่อการเรียนการสอน
หน่วยที่ 2 จิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสื่อการเรียนการสอนที
หน่วยที่ 3 การสื่อสาร
หน่วยที่ 4 การออกแบบสื่อการเรียนการสอน
หน่วยที่ 5 การผลิตสื่อกราฟิก
หน่วยที่ 6 การสร้างสื่อราคาเยา
หน่วยที่ 7 การผลิตสื่อการเรียนการสอนด้วยคอมพิวเตอร์
หน่วยที่ 8 การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์
ทั้ง 8 หน่วยนี้ถูกจัดเก็บลงบนหน้าบล๊อกแล้ว เนื้อหานี้มีประโยชน์แก่ผู้เข้าเยี่ยมชมทุกเพศทุกวัย
..........การเรียนวิชาสื่อการสอน..........
..........ตอนแรกคิดว่าแต่อาจารย์จะให้วาดภาพอย่างเดียว แต่ต่อมาอาจารย์ได้สอนการทำบล็อก ดีใจมากและมหัศจรรย์สุดๆๆที่จะมีบล็อกเป็นของตัวเอง การทำบล็อกนี้เราสามารถค้นหาความรู้จากที่อื่นมาใส่ได้ และสามารถตกแต่งให้สวยงามได้และที่สำคัญคือเราสามารถถ่ายทอดความรู้หรือบทความผ่านบล็อก เพื่อให้คนอื่นรับรู้และเพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้เข้าเยี่ยมชม
...ขอขอบพระคุณท่านอาจารย์ ผศ.วิวรรธน์ จันทร์เทพย์ มากๆค่ะ
*-* อะอะ..ยังไม่หมดนะ...ยังมีหน้าต่อไปอีกนะ*-*